วิวัตฒนาการของ 1G 2G 3G 4G
ผังภาพแสดงแต่ละยุคสมัยของโทรศัพท์มือถือ
ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความจุของข้อมูลที่ 3G นั้น
สามารถที่จะรับส่งได้ ซึ่งมากกว่า 2G อยู่มากโดยเฉพาะส่วนของข้อมูล (Data)
มารู้จักกับ 1G 2G 3G 4G กันเถอะ
นับตั้งแต่มีการพัฒนาในด้านวงการโทรศัพท์มือถือมาอย่างต่อเนื่อง จนเข้ามาสู่ยุคของโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่าสมาร์ทโฟนนี้ ดูเหมือนว่าตอนนี้ แทบจะทุกคนก็หันมาใช้สมาร์ทโฟนกันหมดแล้ว เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้รอบด้าน ทั้งการติดต่อสื่อสาร หรือด้านบันเทิงต่างๆ อย่างครบครันแล้ว ราคาสมาร์ทโฟนในสมัยนี้ก็มีให้เลือกหลากหลายมากมาย เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในทุกระดับชั้น และนั่นยิ่งทำให้ผู้คนเลือกที่จะใช้สมาร์ทโฟน จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว
และในยุคที่ใครๆ ก็ใช้สมาร์ทโฟนนั้น สิ่งที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้ก็คือ สัญญาณประเภทข้อมูล (Data) ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของอินเทอร์เน็ต หรือเรียกง่ายๆ ว่า การเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือนั่นเองค่ะ ซึ่งในช่วงหลังนี้เรามักจะได้ยินศัพท์ที่พูดกันว่า 3G บ้าง 4G บ้าง เผลอๆ มี 5G ให้ได้ยินกันแล้ว และนั่นคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของสมาร์ทโฟนเหล่านี้นี่เองค่ะ และนี่ก็คือสิ่งที่เราจะมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันว่า 3G, 4G เหล่านั้นมันคืออะไรกันแน่?
ตอนนี้หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า 5G กันมาบ้างแล้ว ถือเป็นยุคใหม่ของวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่กำลังมีการต่อยอดจากความสำเร็จในอดีต พัฒนาไปสู่อนาคตกันอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด แต่ก่อนที่เราจะไปถึง 5G ที่กำลังอยู่ในช่วงของการวิจัยในต่างประเทศนั้น เรามาทำความรู้จักในส่วนของ 1G 2G 3G และ 4G กันก่อนดีกว่า ซึ่งหลายคนในยุคนี้อาจจะไม่ยังไม่คุ้นหูกับคำว่า 1G มากนัก แต่ถ้าดูจากระยะเวลาแล้ว ยุคของ 1G เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) นี่เอง และไม่น่าเชื่อเลยว่า ผ่านไปไม่ถึง 40 ปี ในตอนนี้ เราก็กำลังจะเข้าสู่ยุค 5G กันแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาเข้าสู่แต่ละช่วงนั้น จะถูกพัฒนาในทุกๆ 10 ปี อย่าง 1G เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผ่านเข้ามาปี พ.ศ. 2533 ก็เริ่มเข้าสู่ยุคของ 2G ใช้ครั้งแรกที่ประเทศฟินแลนด์ ผ่านมาในปี พ.ศ. 2544 ก็เป็นยุคของ 3G ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกที่เริ่มมีการแบ่งเป็นช่วงยุคของโทรศัพท์มือถือ โดยเทคโนโลยีของยุคนี้ถูกใช้ในครั้งแรกที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมาไม่นานนี้ก็เข้าสู่ช่วง 4G ส่วนคำว่า 5G นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเกาหลี และขณะนี้กำลังมีการวิจัยกันอยู่ คาดว่าอีกไม่นานก็คงจะเข้าสู่ยุค 5G กันแล้ว ก็ต้องมารอลุ้นกันว่า ประเทศไทยเราจะปรับให้ทันสมัยเท่าสากลได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกันได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ เราไปดูกันดีกว่า คำว่า 1G 2G 3G 4G นั้น แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ แล้วในแต่ละยุคสมัยนั้นมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ
G คืออะไร?
คำว่า G ย่อมาจากคำว่า Generation ที่แปลว่า ยุค, สมัย, รุ่น ซึ่งเมื่อเอาไปใช้รวมกับตัวเลข ในภาษาอังกฤษจะออกเสียงว่า First Generation, Second Generation, Third Generation เป็นต้น และถูกย่อเป็นคำว่า 1G, 2G, 3G ซึ่งเป็นชื่อเรียกในแต่ละยุคของเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Telecommunications Technology) เราไปดูแผนผังในแต่ละยุคคร่าวๆ กันก่อนจะไปเจาะลึกกันต่อที่รายละเอียดด้านล่างค่ะ
ผังภาพแสดงแต่ละยุคสมัยของโทรศัพท์มือถือ
1G
เมื่อเข้าถึงยุคสมัยที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุคแรกสุดนั้นเรายังไม่ได้มีการกำหนดว่านั่นเป็นยุค 1G แต่อย่างใด แต่เราได้กำหนดคำนี้ขึ้นเมื่อเริ่มมีการพัฒนาในวงการเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านมาได้ถึงยุค 3G แล้วนั่นเอง โดยในรุ่นแรกๆ นี้ หลายคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างกับโทรศัพท์มือถือร่างยักษ์ที่มีปุ่มกดนูนๆกับเสาอากาศใหญ่โตที่ทำได้เพียงโทรเข้า-ออก รับสาย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog ได้รับการพัฒนาเป็นครั้งแรกในเครือข่ายโทรศัพท์ NTT ของประเทศญี่ปุ่นและมีการใช้ครั้งแรกที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1979 ก่อนจะเริ่มแพร่หลายใช้ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น และเข้ามาสู่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย (ยุโรปตอนเหนือ) ในปี 1981
สำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog นี้ จะใช้ระบบพื้นฐานการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หลักในการทำงานคือ การแบ่งช่องความถี่ออกเป็นความถี่ย่อยหลายๆ ช่อง บนความถี่ที่ 824-894 MHz แล้วใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่เท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นจะสามารถใช้การบริการโทรศัพท์ได้เฉพาะในช่องความถี่ที่ว่างอยู่ และหลังจากที่มีผู้ใช้งานมากขึ้น ระบบก็ไม่สามารถรองรับสัญญาณได้ จึงทำให้การส่งสัญญาณแบบ FDMA ไม่เป็นที่นิยมและเกิดการพัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป
ในยุค 1G นี้ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ Analog นี้ ทำให้โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการใช้งานในเรื่องของเสียง (Voice) เท่านั้น คือรองรับเพียงการโทรเข้า และรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก
การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 1G
- โทรออก / รับสาย
- ไม่รองรับผู้ใช้งานในจำนวนมาก
- เกิดการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่ายและไม่ปลอดภัย
2G
พอมาถึงในยุค 2G เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้
เราจะเห็นว่าในยุค 2G นี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชัดเจน ผู้คนหันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันมากขึ้น เนื่องจากเกิดการพัฒนาโทรศัพท์กันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการแข่งขันในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น และทำให้ราคาเครื่องถูกลงนั่นเอง ในยุคนี้ ถือเป็นยุคที่เฟื่องฟูของวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตอนปลาย จึงทำให้สามารถแบ่งยุค 2G ออกได้อีก 2 ช่วงคือ 2.5G และ 2.75G
2.5G ในยุคนี้ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
2.75G เป็นยุคที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ 3G แล้ว ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สายนั่นเอง
การพัฒนาทางเทคโนโลยีในยุคนั้น ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางการตลาดของวงการโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการดาวน์โหลดเสียงรอสาย รับส่งภาพผ่าน MMS ดาวน์โหลดภาพต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้พัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป
การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2G
- โทรออก รับสาย
- ส่ง SMS
การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5G
- โทรออก รับสาย
- ส่ง SMS
- ส่ง MMS
- เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic
- เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps
การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.75G
- โทรออก รับสาย
- ส่ง SMS
- ส่ง MMS
- รองรับเสียงเรียกเข้าแบบไฟล์ MP3
- เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 70 - 180 kbps
3G
เข้ามาถึงยุค 3G กันแล้ว ซึ่งยุคนี้ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่พอสมควร เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงวิถีประจำวันของผู้ใช้งานไปด้วยก็ว่าได้ สิ่งที่ 3G ต่างกับ 2G ก็คือ ความสามารถในการออนไลน์ตลอดเวลา (Always On) ซึ่งก็จะเท่ากับโทรศัพท์ของคุณจะเหมือนมี High Speed Internet แบบบ้านอยู่บนมือถือของคุณอยู่ตลอดเวลา หากเป็น 2G นั้นเวลาจะออนไลน์แต่ละทีนั้นจะต้องมีการ Log-On เพื่อเข้าเครือข่าย ในขณะที่ 3G นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลาซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่ายเลย
ข้อดีของระบบ Always On คือ จะมีการเตือน (Alert) ขึ้นมาทันที หากมีอีเมล์เข้ามา หรือมีการส่งข้อความต่างๆ จากโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตของเรา นอกจากนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งก็จะเร็วกว่ามาก (Initial Connection) เพราะไม่ต้องมีการ Log-On เข้ากับระบบอีกต่อไป (การ Log-On เข้าระบบให้นึกถึงตอนสมัยที่เราใช้ Modem แบบ Dial Up ร่วมกับสายโทรศัพท์) เราจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แล้วคิดค่าบริการตามการรับส่งข้อมูลของเราแทน
ในยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติ (Voice) และแบบรับส่งข้อมูล (Data) ซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูลนี้เอง ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G อีกด้วยค่ะ
ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความจุของข้อมูลที่ 3G นั้น
สามารถที่จะรับส่งได้ ซึ่งมากกว่า 2G อยู่มากโดยเฉพาะส่วนของข้อมูล (Data)
ผลจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้เราสามารถที่จะทำอะไรบนมือถือได้มากขึ้นจากแต่ก่อน เช่น
|
จะเห็นได้ว่าความสามารถที่เพิ่มมาจะมารองรับกับสมาร์ทโฟนที่เป็นในปัจจุบันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Android ล้วนแล้วแต่ออกแบบมาให้รองรับกับความเร็วในระดับ 3G ทั้งนั้น ซึ่งหากเรามีสมาร์ทโฟน พวกนี้ แต่ไม่มีความเร็วในระดับ 3G ก็จะเท่ากับว่าจะดึงความสามารถของสมาร์ทโฟนมาได้ไม่คุ้ม เราต้องใช้ไปควบคู่กันค่ะ
"3G ทำให้เราสามารถพูดคุยแบบเห็นหน้ากันได้, ดูหนังบนมือถือหรือแท็บเล็ตได้ และ สามารถที่จะใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่เหมือนอยู่บ้าน" |
การที่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบนี้ไว้ใช้งานนั้น ก็เปรียบเสมือนเรามี High Speed Internet แบบ Broadband เหมือนที่เราใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานมาอยู่ในมือถือเรา สามารถใช้งานได้เวลาที่อยู่นอกบ้าน หรือที่เป็นประโยชน์มากๆ ก็คือในบริเวณที่ค่อนข้างไกล เช่น ในต่างจังหวัด หรือ ชนบท ที่ High Speed Internet แบบสายนั้นไปไม่ถึง ระบบ 3G ก็จะช่วยทำให้พื้นที่เหล่านั้นสามารถใช้ High Speed Internet ได้เลยครับ ซึ่งเป็นข้อดีของ 3G เพราะใช้สัญญาณคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สัญญาณนั้นไปได้ทุกที่ เหมือนกับสัญญาณโทรศัพท์เลยค่ะ
4G
ถึงแม้ว่าเราจะเห็นวิวัฒนาการของ 3G ที่ก้าวกระโดดจาก 2G มาแล้วนั้น ทำให้เราสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้โดยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (Always on) เราสามารถ Video Call ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ เราสามารถดูทีวีออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ แต่หลายครั้งหลายคราก็ต้องประสบกับปัญหา สัญญาณข้ดข้อง ภาพกระตุกบ้าง ความเร็วในการรับส่งข้อมูลถูกจำกัดบ้าง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาต่อเข้าสู่ยุค 4G
การเข้ามาสู่ยุค 4G นี้ได้รับการพัฒนามาจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ ก่อนจะนำมาใช้จริงที่สหรัฐอเมริกา เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบไร้สายในอดีตทั้งหมด ทั้ง 1G, 2G และ 3G มารวมกันเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น อย่างเช่น การพัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 Mpbs เลยทีเดียว สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call) หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile teleconferencing) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย
สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในยุค 4G นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ WiMAX (Worldwide Interoperability of Microwave Access) และ LTE (Long Term Evolution) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มาช่วยในเรื่องของการรับส่งข้อมูลให้เร็วขึ้นกว่าในยุคก่อนๆ นั่นเอง โดยในส่วนของ WiMax นั้นนิยมใช้แค่ในบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, บังคลาเทศ ซึ่ง LTE นั้นเป็นที่นิยมใช้มากกว่ารวมถึงบ้านเราด้วยเช่นกัน
สำหรับความคืบหน้าของ 4G ในประเทศไทยหลังจากที่ได้มีการประมูลคลื่นความถี่ 4G ไปเมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น 3 เครือข่ายยักษ์ใหญ่ในประเทศก็ได้เปิดให้บริการ 4G แล้ว โดยแต่ละเครือข่ายก็ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยี 4G LTE นี้ไว้ดังนี้
AIS : เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยลดข้อจำกัดของการรับส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี GSM/ GPRS/ EDGE ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้เพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง100 Mbps และจะช่วยลดความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลโดยรวมลงอย่างมาก
เปิดบริการ 4G บนคลื่นความถี่ : 850/2300 MHz
เปิดบริการ 4G บนคลื่นความถี่ : 850/2300 MHz
Dtac : เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ เป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูล เพราะการรับส่งข้อมูลบน 4G มีความสามารถในการส่งถ่ายข้อมูลอย่างมัลติมีเดียสตรีมมิ่ง ที่ทำได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็วมากขึ้น
เปิดบริการ 4G บนคลื่นความถี่ : 850/1800/2100 MHz
เปิดบริการ 4G บนคลื่นความถี่ : 850/1800/2100 MHz
TruemoveH : เทคโนโลยีล่าสุดที่ถูกพัฒนาเพื่อให้มีความสามารถรับ-ส่งข้อมูลสูงขึ้น รองรับการใช้งานดาต้าที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง หรือข้อมูลมัลติมีเดียที่มีความละเอียดสูง ทำให้คุณสนุก หรือทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบกว่าเดิม
เปิดบริการ 4G บนคลื่นความถี่ : 850/2100 MHz
เปิดบริการ 4G บนคลื่นความถี่ : 850/2100 MHz
อย่างไรก็ตาม 4G ในประเทศไทยนี้ยังไม่ครอบคลุมมากนัก และจำกัดพื้นที่การใช้งานส่วนใหญ่อยู่ใจกลางเมือง และแหล่งสำคัญๆ ซึ่งสามารถใช้งานควบคู่ไปกับ 3G ได้ ส่วน 4G บ้านเราจะเป็นไปในทิศทางไหนต่อนั้น ก็ต้องติดตามกันต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น